ตัวอักษร (พยัญชนะ และสระ) ของ ภาษาฮีบรู

ภาษาฮีบรู เขียนจากขวาไปซ้าย (เหมือนกับภาษาอาหรับ) ต่างจากภาษาไทยซึ่งเขียน (ประโยค) จากซ้ายไปขวา (เหมือนภาษาอังกฤษ) ดังนั้นการเปิดหนังสือฮีบรู จึงเปิดจากขวาไปซ้ายด้วย (เหมือนหนังสือญี่ปุ่น) สำหรับผู้ที่ไม่ชิน อาจจะรู้สึกว่า เป็นการเปิดจากปกหลัง หรือหน้าสุดท้ายมาก่อน แต่จริงๆ ตรงนั้นเป็นหน้าแรกในการเขียนแบบฮีบรู คนอิสราเอลหลายคน เคยพูดให้เหตุผลว่า การเขียนจากขวาไปซ้ายแบบนี้ ทำให้สะดวกกว่าในสมัยที่มนุษย์เริ่มมีอักษรใช้ในยุคแรกๆ โดยช่วยให้แกะสลักข้อความต่างๆ ลงบนแผ่นศิลาหรือแผ่นหินได้ง่ายขึ้น เพราะคนส่วนมากถนัดขวา และการสลักตัวอักษรลงบนแผ่นหิน โดยแท่งเหล็กมือซ้าย (แทนดินสอ) และถือค้อนสลักด้วยมือขวา น่าจะทำได้ดีกว่า และรวดเร็วกว่า (ภาษาที่เขียนจากซ้ายไปขวา)

ภาษาเขียนในภาษาฮีบรูมี 2 รูปแบบคือ ตัวพิมพ์ และตัวเขียน (ซึ่งน้อยกว่าภาษาเขียนในภาษาอังกฤษซึ่งมีถึง 4 แบบ คือ ตัวพิมพ์เล็ก ตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวเขียนเล็ก ตัวเขียนใหญ่)

ชื่อเรียกตัวอักษรในภาษาฮีบรูตัวอักษรฮีบรูตัวอักษรในภาษาอื่น
ตัวพิมพ์ฮีบรูมาตรฐานอักษรฮีบรูหวัดอักษรราชีอักษรฟินิเชียนอักษรกรีกอักษรลาตินอักษรซีริลลิกอักษรนาบาทาเอียนอักษรอาหรับ
אָלֶף/'alef/אאאΑαAaАаا
בֵּית/bet/בבבΒβBbБб
Вв
ب
גִּמֶל/'gimel/גגגΓγCc
Gg
Гг ج
דָּלֶת/'dalet/,
หรือ /'daled/
דדדΔδDdДдدذ
הֵא/he/,
หรือ /hej/
הההΕεEeЕе
Єє
ه هـ
ـهـ ـه
וָו/vav/וווΥυ
Ϝϝ
FfUuVv
WwYy
Ѵѵ
Уу
و
זָיִן/'zain/זזזΖζZzЗзز
חֵית/χet/חחחΗηHh Ии ح
טֵית/tet/טטטΘθ Ѳѳ طظ
יוֹד/jod/,
หรือ /jud/
יייΙιJj
Ii
Јј
Іі
ي
כַּף/kaf/כ ךכ ךכ ךΚκKkКк ك
לָמֶד/'lamed/לללΛλLlЛл ل
מֵם/mem/מ םמ םמ םΜμMmМм م
נוּן/nun/נ ןנ ןנ ןΝνNnНн ن
סָמֶךְ/'sameχ/סססΞξ
Χχ
XxѮѯ
Хх
?
עַיִן/'ain/עעעΟοOoОо ع ء
غـ غ
פֵּא/pe/,
หรือ /pej/
פ ףפ ףפ ףΠπPpПп ف
צָדֵי/'tsade/,
หรือ /'tsadik/
צ ץצ ץצ ץϺϻ-Цц
Чч
ص
ضـ ض
{קוֹף/kof/,
หรือ /kuf/
קקקϘϙQqҀҁ ق
רֵישׁ/reʃ/,
หรือ /rejʃ/
רררΡρRrРрر
שִׁין/ʃin/שששΣσςSsСс
Шш
سـ س
شـ ش
תָּו/tav/,
หรือ /taf/
תתתΤτTtТт ت
ث

ข้อสังเกตเกี่ยวกับตัวอักษรและเสียงในภาษาฮีบรู

  • พยัญชนะ 22 ตัว แต่มี 27 รูป เพราะมีพยัญชนะ 5 ตัว ถ้าอยู่ท้ายคำ จะเปลี่ยนรูปไป คือ ตัวที่ 11 คัฟ כ, ตัวที่ 13 นุน נ, ตัวที่ 14 เม็ม מ, ตัวที่ 17 เพย์ פ และตัวที่ 18 ทซะดิ צ
  • มีสระ 5 เสียง คือ อะ, อิ, เอะ, อุ, โอะ แต่มีการเขียนสระมากกว่า 5 รูปแบบ รวมเรียกว่า "นิกคุต" (niqqud) โดยอาจเป็นจุด (1 – 3 จุด) หรือเป็นขีดใต้พยัญชนะ มีอักษร 2 ตัวที่ออกเป็นเสียงสระด้วย คือ ตัววัฟ (ו) ออกเสียงเป็นสระโอ และสระอุ กับตัวยุด (י) ออกเสียงเป็นสระอิ ด้วย นอกจากนี้ เมื่อสระ 2 ตัวออกเสียงพร้อมๆ กัน จะทำให้เกิดสระเสียงใหม่ เช่น คำว่าเฮซิเลีย คนอิสราเอลจะออกเสียงและเขียนเป็น เฮ – ซิ – ลิ – ย่ะ คือ สระอิ + สระอะ กลายเป็น สระเอีย
  • ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ คือ ไม่มีเสียงสูง – ต่ำ (tonation) การออกเสียงพยางค์ด้วยโทนเสียงเสียงที่ต่างกัน ไม่มีผลให้ความหมายของคำเปลี่ยนไป (เช่นเดียวกับภาษาตะวันตกทั่วไป)

เสียงพยัญชนะฮีบรู 4 เสียง ที่ไม่มีเสียงเทียบในภาษาไทย

  • ตัวที่ 6 วัฟ (ו) และตัวที่ 2 (ที่เป็นตัวเพิ่ม) เว็ท (ב) (ทั้ง ๒ พยัญชนะนี้ เสียงเหมือนกัน) คือเป็นเสียง ว แต่เป็นเสียงก้อง (voiced) เวลาออกเสียง ฟันบน จะแตะบนริมฝีปากล่าง
  • ตัวที่ 7 ซะยิน (ז) เป็นเสียง ซ แต่เป็นเสียงก้อง (voiced) คือ เสียง ซ ที่ออกมาจากลำคอ เทียบได้กับเสียง Z ในภาษาอังกฤษ
  • ตัวที่ 8 เค็ท (ח) และตัวที่ 11 คัฟ כ (ทั้ง ๒ พยัญชนะนี้ เสียงเหมือนกัน) คือ คล้ายเสียง ค แต่ฐานเสียงออกมาจาก คอที่ลึกกว่า
  • ตัวที่ 18 ซะดิ (צ) คือ คล้ายออกเป็นเสียง ท ควบ ซ คือเสียง (ท) จะออกครึ่งเสียงเร็วๆ ไม่ได้เป็นเสียง ทะ ตรงๆ

นอกจากนี้ ฮีบรูยังมีลักษณะสำคัญอีกอย่างคือ ตัวอักษรฮีบรูทั้งชุดเป็นพยัญชนะล้วนไม่มีรูปสระ ดังนั้นเวลาเขียนจะไม่แสดงรูปสระ เช่น คำว่า อิสราเอล จะเขียนแบบลดรูปสระเป็น อสรอล ซึ่งหากถ้าผู้อ่านไม่เคยชิน (คนที่ไม่ได้เติบโตมากับภาษาฮีบรูและเรียนรู้เสียงอ่านแต่เด็ก) จะทำให้อ่านพลาดได้ง่าย ดังนั้นโดยทั่วไปในภาษาฮีบรูที่เขียนอย่างมีรูปสระกำกับ ก็คือ ในพระคัมภีร์เก่า ซึ่งเป็นหนังสือทางศาสนา ในหนังสือเด็ก และในคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ ก็มักจะเขียนสระกำกับไว้ เพื่อให้อ่านออกเสียงได้ถูกต้องใกล้เคียงกับภาษาเดิม